วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระบูชา


วีธีการดูพระบูชา ขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ครับ
1: เริ่มจากการดูดินใต้ฐาน ดินใต้ฐานพระบูชานั้น ขึ้นอยู่กับยุคสมัยด้วยครับ เช่น พระยุครัตนะ หรือ พระรัชกาล จะเป็นดินปนทราย หรือบางท่านจะเรีกว่าดินไทย แต่พระบูชาตั้งแต่ยุคอยุธยาขึ้นไป จะเป็นดินปนแกลบ นักเล่นรุ่นเก่า เรียกว่าดินแกลบครับ เริ่มต้นด้วยดูดินให้ตรงยุคตรงสมัย เมื่อดูแล้วเรียบร้อยดี ขั้นต่อไป
2: ดูงานศิลป์ ตรงนี้ท่านต้องจำไว้เลยว่า พระบูชาในสมัยก่อนสร้างทีละองค์ หมายความว่า ขึ้นหุ่นปั้นที่ละองค์ด้วยเทียนขี้ผี้ง เพราะฉนั้น สำคัญนะครับ
2.1 พระแต่ละองค์จะต้องไม่เหมือนกัน แค่คล้ายๆกันได้ แต่จะไม่เหมือนกันเป๊ะ แบบนี้ไม่ได้ครับ ถ้าสององค์เหมือนกัน จะต้องมีองค์ใดองค์หนึ่งเก๊ หรือเก๊ทั้งคู่เลยครับ
2.2 พระจะต้องไม่มีตะเข็บข้าง เพราะวิวัฒนาการในสมัยนั้นยังไปไม่ถึงครับ กรรมวิธีแบบนี้ ช่างสมัยก่อนยังคิดไม่ออก ยังทำไม่ได้ครับ ใหสังเกตุจากด้านข้างองค์พระครับ โดนเฉพาะช่วงเม็ดพระศกนั้น ของเก๊มักจะมีรอยตะเข็บหลุดมาให้เห็นครับ
2.3 ให้สังเกตุนิ้วมือครับ นิ้วมือจะเรียบร้อยสวยงาม ไม่หงิกๆด้วนๆครับ
3. ให้ดูร่องเม็ดพระศกครับ ถ้าเป็นพระสมัย (ตั้งแต่อธุยาขึ้นไป) จะใช้วิธีปั้นทีละเม็ดแล้วนำไปติด (ตอนเป็นหุ่นเทียน) จะไม่ตัดมาเป็นเส้นยาวแล้วนำมาแปะครับ กรรมวิธีแบบนี้จะมีแต่พระยุครัตนะ กับพระบูชารัชกาลเท่านั้นครับ
4: ให้ดูขอบด้านใต้ฐานอีกครับ ส่วนใหญ่ พระจะเป็นสองขอบ (ส่วนใหญ่นะครั)แบบที่ผมเคยบอกท่านแล้วในคราวสอนวิธีดู พระบูชายุครัตนะ ลองย้อนกลับไปอ่านครับ
5: เนื้อหาสาระ ของพระสมัยส่วนใหญ่จะต้องเป็นโลหะผสมครับ เพราะในสมัยก่อนจะไม่แยกโลหะก่อนเทพระ เพราะสมัยก่อนสร้างพระกันด้วยแรงศรัทธา ใครมีโลหะชนิดใดก็นำมารวมๆกันในเบ้าหลอม
ยังมีรายระเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ ผมจะนำเสนอเพียงแค่นี้ก่อน บอกหมดท่านก็จำไม่ได้ครับ มาทำความเข้าใจกับตรงนี้ก่อน ใครมีอะไรไม่เข้าใจ จะถาม เชิญครับ

จาก คุณนักสะสม 
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1/289146017860457